วัดวรนาถบรรพต พระอารามหลวง
วัดวรนาถบรรพต พระอารามหลวง
Chedi Wat Khao Kob 3.jpg

เจดีย์สมัยสุโขทัย

 

 

ชื่อสามัญ วัดวรนาถบรรพต,วัดเขากบ,วัดปากบาง
ที่ตั้ง เลขที่ ๑๘๘ ถนนธรรมวิถี ตำบลปากน้ำโพ อำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์
ประเภท พระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ
นิกาย มหานิกาย
เจ้าอาวาส พระราชรัตนเวที รองเจ้าคณะจังหวัดนครสวรรค์
เวลาทำการ เวลาเปิดปิด เช่น ทุกวัน 8.00-17.00
จุดสนใจ รอยพระพุทธบาทจำลองบนยอดเขากบ,เจดีย์บรรจุพระบรมธาตุทรงสุโขทัย,
พระพุทธศาสนา ส่วนหนึ่งของสารานุกรมพระพุทธศาสนา

 

ประวัติ

วัดวรนาถบรรพตตั้งเมื่อพ.ศ. 1962 ในสมัยสุโขทัยผู้สร้างคือพญาบาลเมือง สร้างขึ้นเพื่ออุทิศแด่พญารามผู้น้อง ซึ่งได้สิ้นพระชนม์ในระหว่างทำศึกสงครามหัวเมืองฝ่ายใต้ตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์ปรากฏในศิลาจารึก2หลัก ซึ่งทางกรมศิลปากรได้ไปจากยอดเขาใกล้กับรอยพระพุทธบาทจำลองและได้จากเมืองนครชุมจังหวัดกำแพงเพชรซึ่งกล่าวถึงพระเจ้าลิไทกษัตริย์สุโขทัยองค์ที่5 ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้นำพระพุทธบาทจำลองจากลังกาซึ่งส่งมาให้เป็นบรรณาการนำไปประดิษฐานไว้บนยอดเขากบ ดังปรากฏในปัจจุบัน

สมัยสุโขทัย สร้าง รอยพระพุทธบาทจำลอง เจดีย์ใหญ่ ภายในเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ พระพุทธรูปหินปางนาคปรก สมัยเชียงแสน พระพุทธไสยาสน์ ยาว 10 วาเศษ อุโบสถหลวงพ่อทอง

พ.ศ. 2464 สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าดิศวรกุมาร กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้ค้นพบวัดวรนาถบรรพต

พระยาบาลเมือง สร้างวัดเขากบ มีเจดีย์ วิหาร ขุดตระพัง ปลูกบัวนานาพรรณเพื่อเป็นพุทธบูชา ปลูกต้นพระศรีมหาโพธิ์ในรามอาวาส สร้างพุทธปฏิมา เพื่ออุทิศส่วนกุศลให้แก่พระยารามผู้เป็นน้อง ซึ่งมาสิ้นพระชนม์ลง ณ เมืองพระบาง(ปัจจุบันคือ จังหวัดนครสวรรค์)

ไม่เพียงได้รับยกย่องจากกรมการศาสนา และมหาเถรสมาคมให้เป็นวัดพัฒนาตัวอย่างในปี พ.ศ. 2509 เท่านั้น หากวัดแห่งนี้ยังมีความเก่าแก่และทรงคุณค่าอย่างยิ่งของจังหวัดนครสวรรค์ ตัววัดตั้งอยู่บนยอดเขาและเชิงเขากบที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางประมาณ 185.50 เมตร จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ สันนิษฐานว่าวัดนี้น่าจะสร้างขึ้นในปี พ.ศ. 1962 ในสมัยสุโขทัย โดยพญาบาลเมืองที่ได้สร้างเจดีย์ วิหาร ขุดตระพังเพื่อปลูกบัวถวายเป็นพุทธบูชา ปลูกต้นพระศรีมหาโพธิ์ในรามอาวาสเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้แก่พระยารามผู้เป็นน้องที่ได้สิ้นพระชนม์ระหว่างทำศึกกับหัวเมืองฝ่ายใต้ ณ เมืองพระบางซึ่งปัจจุบันคือนครสวรรค์นั่นเอง ทั้งนี้การเดินทางขึ้นสู่วัด สามารถเดินขึ้นบันได จำนวน 437 ขั้น หรือใครที่ไม่อยากเหนื่อย สามารถนำรถขึ้นไปถึงได้โดยมีถนนลาดยางขึ้นสู่ยอดเขา


image รูปภาพ
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image

image
image
image
image
image
image
 
 
 
 

Website Policy | Privacy Policy | Security Policy | Disclaimer | ข้อกำหนดการใช้ Cookies รองรับการทำงานบน Internet Explorer v.11+, Microsoft Edge, Firefox v.47.0+, Chrome v.51+

จำนวนการเข้าชม : 330,048